รับตีเทริน รถไถ เก่า ให้ราคาดี โทรหาเรา 0890111624 โทรเลย

   

            


ขายคูโบต้ามือสอง สวยๆ ดาวน์ต่ำ

   ผ่อนรายปี     

และตีเทรินรถเก่าให้ราคาดี

 ลูกค้าของเรา 

         

 


สนใจ โทรเลย    0890111624

  Line Id : 0890111624              

 







 



บริษัทในเครือ
 

คูโบต้าอุดรธานี  

เอเชียการค้ากุมภวาปี  

คูโบต้าเมืองเลย  

แสนอุดมการเกษตร 

บริษัท เซอร์โก้ จำกัด 


 

แหล่งที่มาขอผู้เยี่ยมชม
 สถิติวันนี้ 10 คน
 สถิติเมื่อวาน 86 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2050 คน
14324 คน
1738268 คน
เริ่มเมื่อ 2012-11-06

การทำนาในสภาพฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง


       คำแนะนำสำหรับเกษตรกร

  1. เลื่อนการทำนาปีออกไปจนกว่าจะเริ่มมีฝนตกชุก คือประมาณต้นเดือนสิงหาคม
  2. ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ถ้ามีปริมาณน้ำพอที่จะตกกล้าได้ แนะนำให้ทำนาดำ หรือหากมีน้ำมากพอก็ใช้วิธีหว่านน้ำตมได้เพื่อลดขั้นตอนและช่วงระยะเวลาการทำนา
  3. ถ้าหากถึงกลางเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำในทุ่งยังไม่เพียงพอที่จะตกกล้า แนะนำให้ทำการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย
  4. กรณีที่ต้องการใช้น้ำเพื่อช่วยเหลือการทำนาปีในช่วงฝนทิ้งช่วง ก็จะให้มีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำหรือคูคลองที่อยู่ใต้พื้นที่เขื่อนเก็บกักน้ำ โดยทางราชการจะสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
  5. สำหรับพื้นที่ดอนที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในการทำนา ขอให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวและหันมาปลูกพืชอายุสั้น เช่น ถั่ว และพืชผักต่าง ๆ แทน

     วิธีการแก้ไขปัญหา

                โดยสภาพทั่วไป ฝนจะตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมทุกปี หากในพื้นที่นามีน้ำมากพอเพียงก็ขอให้เกษตรกรทำการตกกล้า เพื่อจะได้ทำการปักดำหรือทำนาหว่านน้ำตม ถ้าเกิดสภาพฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนานไปถึงช่วงเดือนสิงหาคม หากเกษตรกรได้ตกกล้าไว้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม อายุกล้าจะแก่และย่างปล้องแล้ว ในการปักดำให้ใช้จำนวนต้นต่อจับให้มากขึ้น และปักดำให้ถี่เพราะกล้าเหล่านี้จะแตกกอน้อย หรือใช้วิธีการปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้ง เพื่อลดขั้นตอนในการตกกล้าและไม่ชะงักในการเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวได้ทันฤดูกาล

     การปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย

               การปลูกโดยใช้เมล็ดแห้งที่ยังไม่ได้เพาะให้งอก ทำได้ดังนี้

  1. ทำการไถดะตากดินไว้เพื่อทำลายวัชพืช จึงทำการไถแปรย่อยดินให้มีขนาดพอเหมาะ แล้วปรับดินให้เรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับ แล้วจึงหว่านเมล็ดข้าวแห้ง
  2. การหว่าน ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้เตรียมไว้หว่านไร่ละ 15 กก. แล้วคราดกลบ
  3. เมล็ดพันธุ์ข้าว ควรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวแสงปลูก หากใช้ข้าวไวแสงเวลาจะไม่ทัน ได้ผลผลิตต่ำ
  4. การใส่ปุ๋ย ข้าวที่ปลูกในช่วงฝนแล้ง เป็นการปลูกข้าวล่าช้ากว่าฤดูกาลมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยช่วยเร่งให้ต้นข้าวมีการเจริญเติบโตได้เต็มที่ จึงจะทำให้ได้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับการทำนาดำตามฤดูกาลปกติ
       4.1  การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1
             ในพื้นที่ดินเหนียวให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0, 18-22-0 หรือ 20-20-0 สูตรใดสูตรหนึ่งในอัตราไร่ละ 25 กก. ในดินทรายให้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตราไร่ ละ 25 กก. โดยใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 5-6 วัน
       4.2  การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
              ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 40-45 วัน โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หรือแอมฮมเนียมคลอไรด์ ไร่ละ 25-30 กก. หรือปุ๋ยยูเรีย ไร่ละ 10-15 กก. ในการใส่ปุ๋ยควรจะคำนึงถึงว่าดินจะต้องเปียกแฉะหรือมีน้ำขังไม่ควรเกิน 20 เซ็นติเมตร ถ้าหากดินแห้งหรือระดับน้ำมาก กว่านี้ ให้เลื่อนการใส่ปุ๋ยออกไปมิฉะนั้นจะทำให้การใช้ปุ๋ยไม่มีประสิทธิภาพ เกิดการสูญเสียปุ๋ย ทำให้ต้นข้าวได้รับปุ๋ย ไม่พอเพียง ผลผลิตจะต่ำ
  5. การดูแลรักษา
       5.1 ควรปรับปรุงคันนาให้ดี อุดรูรั่วของน้ำ
       5.2 หมั่นตรวจดูนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบศัตรูข้าวให้รีบกำจัด
       5.3 ถ้าหากพบว่าข้าวขึ้นไม่สม่ำเสมอ ควรถอนต้นข้าวที่แตกกอไปซ่อมแซม

     สรุป

                ในที่ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นประจำ ให้เปลี่ยนวิธีปลูกข้าว จากการปักดำมาปลูกโดยการหว่านข้าวแห้งไม่ควรรอให้ฝนตก ได้น้ำพอเพียงในการตกกล้าและปักดำ เพราะจะล่วงเวลามากไปทำให้ข้าวที่ปักดำไม่เท่าไรก็จะตั้งท้องและออกดอก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำอย่างไรก็ตาม หากฝนล่ามาจนถึงปลายเดือนสิงหาคมชนต้นกันยายนจะทำการหว่านแห้งก็จะไม่ค่อยได้ผล เพราะฤดูกาลล่ามากฝนจะหมดควรงดการปลูกข้าว หันไปปลูกพืชอายุสั้นแทน เช่น ถั่วและพืชผักต่าง ๆ


อ้างอิง : http://www.doae.go.th/library/html/detail/ricefarm/ricefarm.htm


                  

.   >