รับตีเทริน รถไถ เก่า ให้ราคาดี โทรหาเรา 0890111624 โทรเลย

   

            


ขายคูโบต้ามือสอง สวยๆ ดาวน์ต่ำ

   ผ่อนรายปี     

และตีเทรินรถเก่าให้ราคาดี

 ลูกค้าของเรา 

         

 


สนใจ โทรเลย    0890111624

  Line Id : 0890111624              

 







 



บริษัทในเครือ
 

คูโบต้าอุดรธานี  

เอเชียการค้ากุมภวาปี  

คูโบต้าเมืองเลย  

แสนอุดมการเกษตร 

บริษัท เซอร์โก้ จำกัด 


 

แหล่งที่มาขอผู้เยี่ยมชม
 สถิติวันนี้ 205 คน
 สถิติเมื่อวาน 158 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
638 คน
48355 คน
1772299 คน
เริ่มเมื่อ 2012-11-06

 



รถแทรกเตอร์

รถทุ่นแรงใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติดเข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้มีสองแบบคือแบบตีนตะขาบและแบบล้อซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า

รถแทรกเตอร์คืออะไร

รถแทรกเตอร์กลายเป็นเครื่องทุ่นแรงของเกษตรกรไปแล้วในยุคนี้ทั้งใช้งานได้งานมากกว่าใช้วัวควายไถนาเหมือนสมัยก่อนแถมรถแทรกเตอร์ยังมีความสามารถเอนกประสงค์หลากหลายตามประเภทของแทรกเตอร์นั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทต่างๆ ผลิตออกมาตอบสนองการใช้งานในภาคเกษตรกรรมต่างๆ เรียกได้ว่าทำงานหลายอย่าง ทั้ง ไถ พรวน  ลาก จูง เครื่องจักรในไร่ ไถกลบหน้าดิน ปราบดิน สูบน้ำ ปั่นไฟ ฯลฯ

รถแทรกเตอร์ คือ  พาหนะที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเพื่อลาก จูง ดัน เครื่องมือ หรือส่วนต่อพ่วง เพื่อประโยชน์ในการเกษตร เช่น เปิด หน้าดินด้วย ไถกระทะ  ปราบดิน หรือลากจูงเทรลเลอร์ในพื้นที่เกษตร ไร่ สวน นา ฯลฯ

ที่ยานพาหนะอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งต้องการอาศัยรถแทรกเตอร์ทั้งสิ้น และสามารถใช้ในภาคเกษตรการทำเหมือง การทำถนนหรือพัฒนาที่ดิน หรือพื้นที่เข้าถึงด้วย รถยนต์ทั่วไปไม่ได้หรือบ้างครั้งสามารถใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม บ้างอย่างได้หรือโรงงานผลิตผลเกษตร เราก็มักได้เห็นรถ แทรกเตอร์ได้เช่นกัน

รถแทรกเตอร์แบ่งเป็น กี่ประเภท

มีการแบ่งประเภทของรถแทรกเตอร์ ออกเป็นหลายอย่างและใช้ ลักษณะที่แตกต่างกันในการแยกแยะประเภท แต่ใน ที่นี้เราขอแบ่งประเภทของรถแทรกเตอร์ออกเป็นสองประเภท ใหญ่ๆ เพื่อสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น คือ

1.รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อนสองล้อ

2.รถแทรกเตอร์ขับเลื่อนสี่ล้อ

ซึ่งรถแทรกเตอร์แบบขับเคลื่อน 2 ล้อ จะถูกออกแบบหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันนี้ รถแทรกเตอร์แบบขับเคลื่อน2 ล้อสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคือ แบบ STANDARD TREAD ROW CROP  HIGH  CLEARANCE และแบบ LOW PROFILE ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีความสามารถและลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกัน เพื่อใช้ในพื้นที่เกษตรต่าง ๆ

แทรกเตอร์แบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เหมาะสมกับพื้นที่เกษตร ที่อ่อนนุ่น หรือมีเลนมาก อาจจะทำให้รถติดหล่มได้

ดังนั้นการเลือกรถแทรกเตอร์แบบขับเคลื่อน 4 ล้อสามารถช่วยให้เข้าถึง และขับเคลื่อน ทำงานไปยังพื้นที่เปียกชุ่ม

หรือพื้นที่มีวัชพืชมากทำให้การขับเคลื่อนรถแทรกเตอร์แบบ2 ล้อนั้นเข้าไปได้ยากแบ่งได้เป็นสองแบบคือ

แบบ FRONT WHEEL AUXILIARY DIVE คือสามารถปรับแต่งหรือเพิ่มส่วนให้ล้อหน้าสามารถขับเคลื่อนให้เหมือนล้อหลังแต่ล้อหน้ายังคงเล็กกว่าล้อหลังและแบบTRUE  4 WHEEL DRVEคือรถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบไม่ต้องปรับแต่งใดๆ เครื่องยนต์จะส่งกำลังไปยังล้อ ทั้ง4  จะมีขนาดเท่านั้นทั้งล้อหน้าและล้อหลัง รถแทรกเตอร์ พาหนะคู่ชีพของเกษตรกรไทยในแต่ละปีผลผลิตการส่งออกสินค้าที่เป็นสินค้าเกษตรของไทยนับว่ามียอดจำหน่ายสูงติดอันดับ  1 ใน  5  ของสินค้าของประเทศไทยส่งออกเลยก็ว่าได้ เพราะประเทศของเรามีพื้นที่ราบลุ่มและพื้นดินที่อุดมสมบรูณ์ จึงไม่แปลงที่ผลผลิตทางการเกษตรจะมีสายพันธ์ที่หลากหลายและมีจำนวนมาก แต่เมื่อมองไปยังต้นสายปลายเหตุของการผลิตพืชและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลาย และยุ่งยาก ส่งผลให้ไม่สามารถเพิ่มยอดขายหรือกระตุ้นยอดจำหน่ายให้สูงขึ้นไปจากเดิมได้มากนักขณะเดียวกันปัจจัยหลักอย่างของรถแทรกเตอร์ที่ถูกนำมาเป็นตัวกลางในการสร้างพื้นที่ในการปลูกพืชผลทางการเกษตรก็สำคัญ

รถแทรกเตอร์ที่ดีควรมีลักษณะพื้นฐานดังต่อไปนี้

1.ระบบเครื่องยนต์ควรมีรอบต่ำ ซึ่งขณะเดียวกันนั่นเองก็ควรมีแรงบิดสูงเพื่อปรับสมดุลให้สองอย่างสามารถทำงานควบคู่กันไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจเพราะต้องการสร้างให้เกิดแรงฉุดลากเพื่อใช้ประโยชน์จากรถแทรกเตอร์ให้ได้มากที่สุด

2.รถแทรกเตอร์ขนาดมาตรฐานที่เป็นตามหลักสากลล้อหลังจะใหญ่และมีขนาดหน้ากลางเพื่อช่วยรองรับน้ำหนักที่มักเกิดขึ้นในขณะทำงานในหลายรูปแบบเสมอไม่ว่าจะเป็นงานหนักหรืองานเบา นอกจากนั้นยังช่วยทำให้เกิดแรงเสียดทานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

3.ขนาดของตัวถังรถแทรกเตอร์สูงเพื่อให้เกิดการวิ่งเข้าไปทำงานระหว่างช่วงแถวของพืชหรือคันดินให้เกิดคุณภาพมากที่สุด

4.รถแทรกเตอร์ที่พร้อมต่อการทำงานควรมีอุปกรณ์ที่พร้อมช่วยให้ความปลอดภัยอาทิ สภาพกระจกควรกว้างสามารถมองเห็นได้รอบด้านครบทุกมุมเพื่อช่วยเพิ่มความระมัดระวัง ส่วนของเบาะนั่ง ต้องนั่งให้สบายไม่ทำให้ผู้ขับขี่ รู้สึกเหนื่อยล้า สามารถลุกเข้าออกได้สะดวก และรวดเร็วในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย หรืออุบัติเหตุแบบเฉียบพลันการใช้รถแทรกเตอร์ให้เต็มสมรรถนะอาจไม่ได้อยู่ที่ระบบของรถเพียงอย่างเดียวเพราะส่วนหนึ่งของการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ต้องมาจากผู้ควบคุมรถแทรกเตอร์อีกด้วยในปัจจุบันมีเครื่องจักรกลมาเป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำงาน ที่ใช้แรงงานคน ทั้งในภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม แต่ถ้าหากพูดถึงรถแทรกเตอร์แล้ว เราก็คงนึกถึงภาคของเกษตรกรรมมากกว่า เพราะรถแทรกเตอร์ถือเป็นหัวใจหลักของพี่น้องของเกษตรเลยก็ว่าได้

ไม่ว่าจะเป็นการทำนา ทำสวน หรือ ทำไร่ แล้วเจ้ารถแทรกเตอร์เข้าไปมีส่วนร่วมเสียทุกงาน ซึ่งรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรมีรูปร่างหลายแบบแต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเครื่องยนต์ต้นกำลัง อุปกรณ์พ่วงลากและขับหมุนเครื่องมือทุ่นแรงโดยทั่วไป  รถแทรกเตอร์มีลักษณะดังต่อไปนี้  เครื่องยนต์ที่ใช้ มีรอบต่ำแต่มีแรงบิลสูงทั้งนี้เพื่อให้มีแรงฉุดลาก ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานล้อหลังใหญ่และล้อหน้ากว้างเพื่อรับน้ำหนัก ที่เกิดขึ้นในขณะทำงานนอกจากนั้นยังเจ้ารถแทรกเตอร์มีส่วนร่วม เสียทุกงานซึ่งรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรมีรูปร่างหลายแบบแต่ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเครื่องยนต์ต้นกำลังอุปกรณ์พ่วงลากและขับหมุนเครื่องมือทุ่นแรงโดยทั่วไปรถแทรกเตอร์

  ประเภทและวิธีการรักษารถแทรกเตอร์

ในปัจจุบันรถแทรกเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตรแทนการใช้แรงของคนหรือสัตว์เนื่องด้วยประสิทธิภาพการทำงานของมันทำให้ทุ่นแรงในการทำเกษตรได้อย่างดีเยี่ยม ส่งผลให้ได้ปริมาณที่มาก รถแทรกเตอร์นั้น

 

สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

1.แบ่งตามลักษณะการขับเคลื่อน มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ

-รถแทรกเตอร์แบบล้อยาง (WHEEL TRACTOR ) นิยมใช้ในการเกษตร

- รถแทรกเตอร์ล้อตีนตะขาบ(TRACK –LAYING TRACTOR) นิยมใช้ในงานบุกเบิกพื้นที่ใหม่ หรือเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูก

  1. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน มีด้วยกัน 5 ชนิด

- รถแทรกเตอร์แบบมาตรฐาน (standard tread tractor) เป็นแทรกเตอร์ที่ผลิตมาในช่วงแรกๆ ไม่สามารถปรับช่วงล้อได้เลยจึงเหมาะกับการใช้ในพื้นที่กว้างๆ เท่านั้น

- รถแทรกเตอร์ใช้งานทั่วไป (GENERAL PURPOSE TRACTOR) พัฒนามาจากมาตรฐานสามารถปรับเปลี่ยนช่วงล้อได้จึงเหมาะกับการปลูกพืชแบบแนว

- รถแทรกเตอร์ทรงสูง (high clearance tractor )แตกต่างจากรถแทรกเตอร์ใช้งานทั่วไปตรงที่ตัวยกสูงขึ้นมาจากพื้นดินมากขึ้นแทรกเตอร์แบบใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น บำรุงรักษา กำจัดวัชพืช

- แทรกเตอร์ใช้ในสวนผลไม้ (orchard or vineyard tractor ) เป็นรถแทรกเตอร์ทรงเตี้ย ทำงานได้คล่องตัวนิยมใช้ฉีดพ่นสารเคมี

- รถแทรกเตอร์ใช้ในแปลงผัก และสนามหญ้า(garden and lawn tractor )เป็นรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่ติดตั้งเครื่องตัดหญ้าใต้ท้องรถใช้ติดตั้งเครื่องทุ่นแรงขนาดเล็กได้

- แทรกเตอร์ชนิดงานหลายอย่าง (ALL PURPOSE   TRACTOR)เป็นแทรกเตอร์ที่สามารถใช้งานได้ทุกๆ พื้นที่สามารถใช้งานในการเตรียมดิน การปลูกพืชการพรวนดินระหว่างแถวพืช

- แทรกเตอร์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม (industrial tractor ) เป็นแทรกเตอร์ที่ใช้งานในงาน อุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น การลากดึงสิ่งของในโรงงาน ในสมานจากนี้ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์ ชนิดต่างๆ เข้ากับแทรกเตอร์ได้  เช่นอุปกรณ์ในการตักดิน

แทรกเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้ในงานเกษตรกรรมในระยะแรกนั้นเป็นแทรกเตอร์ที่ใช้ไอน้ำ และ ล้อเหล็ก ซึ่งมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากขีดความสามารถในการใช้งานจำกัดเฉพาะการฉุดลากเท่านั้นลักษณะการใช้งานจึงเหมือนการใช้แรงสัตว์ต่างกันตรงที่แทรกเตอร์ให้กำลังงานมากกว่าแทรกเตอร์ ลักษณะดังกล่าวได้รับการพัฒนา อีกทั้งยังมีความสามารถดังนี้


1.สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง

2.สามารถฉุดลากเครื่องพ่วงท้ายได้

  1. มีระบบการติดต่อการส่งกำลังด้วยคลัตช์

4.มีเกียร์ถอยหลัง

  1. สามารถบังขับเลี้ยวได้โดยผู้ควบคุมเอง



หลังจากที่ได้รู้จักประเภทของเจ้ารถแทรกเตอร์กันแล้วที่นี้เรามาดูวิธีการดูแลรักษาที่ถูกต้องจะช่วยให้เราเชฟค่าใช้จ่ายและเพิ่มอายุการใช้งานให้เราของเรามากพอดู

- ก่อนเริ่มใช้งานสิ่งที่ต้องทำการตรวจเช็คสภาพโดยรวมทั่วไปของรถให้มีสภาพพร้อมใช้งานหรือดูสิ่งผิดปกติ เช่นปริมาณน้ำ น้ำในหม้อน้ำ แรงดันลมยาง

- ช่วงเวลาที่ใช้งานการใช้งานหนักจนเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์ระบายความร้อนไม่ทันควรทิ้งช่วงการทำงานให้เครื่องยนต์ได้พัก

- หลังจากเสร็จการใช้งานขั้นตอนแรกทำความสะอาดตัวรถล้างเศษดิน โคลนที่ติดมากับตัวรถเติมน้ำมันเช็คเครื่องยนต์ให้พร้อมต่อการใช้งานในวันถัดไป

สำหรับเกษตรที่ต้องการซื้อรถแทรกเตอร์สำหรับใช้งานในนาในไร่ของท่านซึ่งมีประโยชน์หลายๆ อย่างสามารถไถพรวนดิน ปรับดิน หรือต่อเทรลเลอร์เข้าไปก็สามารถขนของในไร่นาได้แล้ว ดังนั้นได้ความสะดวกสบายแบบนี้สามารถทุ่นแรงและค่าใช้จ่ายในการปรับหน้าดินได้มาก หากจะไปจ้างคนอื่นมาไถ หรือปรับหน้าดินให้เราก็เกรงว่าจะราคาแพงและไม่ได้คุณภาพงานที่ต้องการจะต้องเฝ้าตลอดเวลาเพื่อจะได้งานที่ดี เสียเวลาไม่ต้องทำอะไรอีกแล้วต้องมายืนเฝ้ารถ แทรกเตอร์ทำงานดังนั้นการซื้อรถแทรกเตอร์มาเป็นของตัวเองจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะได้ด้วย

รุ่นของรถแทรกเตอร์

รุ่น B ทำงานคล่องตัวในร่องอ้อย

ร่น L  ทดแทนแรงงาน ทำงานได้เร็ว

รุ่น M  ไถลึกแรงเต็มพลัง


ระบบไฮดรอลิคของรถแทรกเตอร์สามารถใช้ขับเคลื่อนอุปกรณ์โดยมีการเพิ่มมอเตอร์ไฮดรอลิคหรือกระบอกไฮดรอลิคเพื่อใช้ในการยกร่องและอุปกรณ์เท่านั้นและบ้างแบบสามารถใช้ควบคุมตำตำแหน่งของอุปกรณ์โดยอัตโนมัติเพื่อให้ความลึกในการไถสม่ำเสมอ และควบคุมระดับต่างๆ ในการทำงานหรือใช้ควบคุมแรงลากเพื่อให้รถแทรกเตอร์มีแรงขับเคลื่อนคงที่ขณะที่ติดอุปกรณ์แบบพ่วง 3 จุด ทำหน้าที่ผ่อนแรงในการทำงานของอุปกรณ์รถแทรกเตอร์ เช่นในการบังคับเลี้ยวของพ่วงมาลัยและช่วยผ่อนแรงคันบังคับไฮดรอลิกในการยก- วางอุปกรณ์ ต่อพ่วง ที่นิยมใช้เป็นแบบเปิด ที่ศูนย์กลางที่นิยมใช้เป็นแบบปิดที่ศูนย์กลางเพราะสามารถใช้ระบบไฮดรอลิกทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันนอกจากนั้นยังสามารถใช้ประโยนช์จากแรงดันที่เหลือไว้ภายในระบบมาควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือทุ่นแรง และควบคุมตัวรถได้จึงทำให้เกิดความปลอดภัยแม้เครื่องยนต์รถแทรกเตอร์จะดับก็ตาม

 

 ระบบไฮดรอลิคยกอุปกรณ์แบบธรรมดา

การเปลี่ยนตำแหน่งคันควบคุมการทำงานของกระบอกไฮดรอลิคเมื่อคันควบคุมอยู่ในตำแหน่งยกจะทำให้แขนยกอุปกรณ์ขึ้นจนสุดและหยุดในตำแหน่งนั้นถ้าปล่อยคันควบคุมอยู่ในตำแหน่งสูงสุดวาล์วนิรภัยจะทำงานและทำให้เกิดการเสียหายแก่ระบบดังนี้เมื่อยกอุปกรณ์ได้ถึงระดับที่ต้องการต้องเลื่อนคันควบคุมให้อยู่ในตำแหน่งว่างวิธีการทำให้คันควบคุมอยู่ในตำแหน่งว่างคือการใช้มือโยกวิธีหนึ่งและอีกวิธีหนึ่งโดยการล็อกคันควบคุมติดกับแขนยกให้การเลื่อนคันควบคุมการมาตำแหน่งว่างเป็นโดยอัตโนมัติในการยกอุปกรณ์ให้ได้สูงตามต้องการก่อนถึงระดับสูงสุดจะต้องโยกคันควบคุมกลับมาตำแหน่งว่างเมื่อแขนยกอุปกรณ์ถึงระดับที่ต้องการตำแหน่งทำงานตำแหน่งตัวลอยของอุปกรณ์จะเป็นตำแหน่งต่ำสุดการวางอุปกรณ์ลงต่ำตำแหน่งที่ต้องการทำได้โดยการโยกคันควบคุมกลับไปตำแหน่งว่างเมื่ออุปกรณ์อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการในขณะที่อุปกรณ์กำลังลดตำแหน่งลง


เครื่องเก็บเกี่ยวนวด

เครื่องเก็บเกี่ยวนวดนับเป็นเครื่องจักรกลประเภทหนึ่งที่ใช้ในการปฏิบัติงานหลักจากการปลูกพืชที่มีเมล็ดอยู่และแยกเมล็ดพืชออกจากต้นพืชในเวลาเดียวกันนอกจากนี้ยังมีเครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยวเพียงอย่างเดียวกัน ส่วนมากจะมักใช้กับข้าวและเครื่องนวดซึ่งส่วนมากจะใช้กับข้าว ถั่วเหลือง  การเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะการเก็บเกี่ยวข้าวนั้น สามารถทำการเก็บเกี่ยวได้โดยใช้เครื่องมืออย่างง่าย เช่น เกี่ยว ซึ่งจำเป็นที่จะใช้แรงงาน นอกจากนี้ยัง สามารถทำการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรกลเข้ามาช่วยในการเก็บเกี่ยวจะทำให้เกษตรทำงานได้รวดเร็วยังเป็นการช่วยลดการสูญเสียที่เกดขึ้นในระยะหว่างการเก็บเกี่ยวอีกด้วย

ประเภทของเครื่องเก็บเกี่ยว

เนื่องจากนี้เครื่องเก็บเกี่ยวที่มีผลผลิตและพัฒนามักจะเป็นเครื่องเก็บเกี่ยวที่นิยมใช้กับข้าวมากที่สุด ดังนั้นเครื่องกับเกี่ยวที่ใช้กันเครื่องเกี่ยวข้าวแบบมัดฟ่อน เครื่องเก็บเกี่ยวแบบวางราย

รถแทรกเตอร์เป็นจักรกลการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองมีส่วนประกอบหลังคือ

  1. เครื่องยนต์ต้นกำลัง
  2. ระบบส่งกำลัง
  3. ระบบบังคับเลี้ยว
  4. ระบบเบรก
  5. ระบบไฮดรอลิก
  6. คานลากและที่ต่อพ่วง


เครื่องจักรกลทางการเกษตร

ในอดีตการใช้เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลทางการเกษตรมีน้อยมากเนื่องจากเกษตรกรปลูกพืชสำหรับบริโภคภายในครัวเรือนแต่ในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมาจาการเพาะปลูกบริโภคเริ่มมีการเพาะปลูกเพื่อการค้าการใช้เครื่องมือทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตรจึงได้แพร่หลายและเพิ่มขึ้นทุกๆ ปีโดยเฉพาะเครื่องจักรกลเกษตรจะใช้มากขึ้นเนื่องจากมีการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชแซมหรือปลูกหลายฤดูการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ซึ่ง มีช่วงเวลาการเติบโตสั้น และต้องปลูกให้ได้ตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมจึงได้ผลดีเท่าที่ควรทำให้ต้องมีการใช้เครื่องจักรกลเกษตรเพื่อใช้เตรียมดินและเก็บเกี่ยวให้ทันเวลากับการปลูกพืชรอบต่อไปนอกจากนี้การขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นทำให้ต้องใช้รถไถช่วยเตรียมดินให้ทันเวลาอีกประการหนึ่งการกระจายการปลูกพืชและพืชใหม่ๆ จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้าช่วยเพราะเกษตรกรอาจจะไม่มีความเข้าใจ และความชำนาญการปลูกพืชใหม่ เช่น ถ้าเราใช้เครื่องปลูกพืช และเครื่องใช้ปุ๋ย ก็จะช่วยปลูกพืชด้วยแนวตรง และประหยัดการใช้ปุ๋ย นอกจากนี้ยังช่วยให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืชในปัจจุบัน รถไถเดินตรง เป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะราคาถูกผลิตภายในประเทศขนาดเล็ก เหมาะแก่การเกษตรในประเทศโดยมักจะใช้ในพืชไร่ รถแทรกเตอร์เหล่านี้มักใช้กับผานไถและเครื่องใช้ปุ๋ยอีกชนิดหนึ่งคือเครื่องสูบน้ำ ซึ่งเกษตรกรมักจะมีไว้ใช้เอง เครื่องจักรที่ใช้ในภาคเกษตรกรรมเกี่ยวกับพืชและสัตว์ทั่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการทุ่นแรง การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรการเพิ่มคุณภาพการแปรสภาพผลผลิตเกษตร เช่น

แทรกเตอร์  เครื่องเตรียมดิน  เครื่องบำรุงรักษา  เครื่องเก็บเกี่ยว แทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร มี 4 ชนิดคือ 4 ล้อ และ 2 ล้อ แบ่งได้ตามแรงม้า  3 ขนาด  คือขนาดเล็กต่ำกว่า 18 แรงม้า ขนาดกลาง 18-50 และขนาดใหญ่ 50 แรงม้าขึ้นไป ส่วนแทรกเตอร์ 2 ล้อ เรียกชื่อ รถไถเดินตาม มีขนาดแรงม้าไม่เกิน 15 แรงม้า

เครื่องเตรียมดินเตรียมดินครั้งแรก  เช่น ไถหัวหมู  ไถจาน ไถดินดาน  ไถยกร่อง

เครื่องเตรียมดินครั้งที่ 2 เช่น พรวนจาน พรวนชี่สปริง คราด ลูกกลิ้ง ทุ่นลาก ฯลฯ

เครื่องปลูก ได้แก่  หัว กิ่ง ต้นอ่อน

ปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต เช่น เครื่องวานเม็ด เครื่องปลูกพืชหัว เครื่องย้ายต้นกล้า/ดำนา  เครื่องปลูกอ้อย ฯลฯ

เครื่องบำรุงรักษา  เครื่องสูบน้ำ เครื่องพ่นยา  เครื่องพ่นระหว่างแถว เครื่องวานปุ๋ย เครื่องตัดหญ้า

เครื่องเก็บเกี่ยว  เครื่องเกี่ยวนวดข้าว  เครื่องเก็บเกี่ยวอ้อย เครื่องทำฟอนฟาง  เครื่องเก็บเกี่ยวรากหรือหัวพืช เครื่องนวด เครื่องสี ฯลฯ

ระบบข้อมูลเครื่องจักรกลการเกษตร

ในการจัดเก็บข้อมูลเครื่องจักรกลการเกษตร เข้าสู่ระบบจำเป็นที่จะต้องกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อสะดวกในการจัดเก็บและแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูล ทั้งนี้จะมีการแบ่งประเภทเฉพาะเครื่องจักรกลทางการเกษตร ตามกลุ่มเครื่องจักรกล ประเภทของการทำเกษตร ตามกลุ่มเครื่องจักรกล ประเภทของการทำเกษตรกรรม ลักษณะการใช้งาน ตามขนาดเครื่องจักรกล

เทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร

เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องจักกลการเกษตรจะใช้เครื่องจักรกลที่จะผลิตชิ้นส่วนหรือขบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรที่มีความละเอียดสูงมีการรักษาอย่างเป็นระบบเทคโนโลยีการผลิตปานกลางการใช้เทคโนโลยีในการผลิตในระดับนี้ส่วนมากจะเป็นผู้ประกอบการระดับการและขนาดย่อยซึ่งรับจ้างผลิตชิ้นส่วนเป็นส่วนมาก


เทคโนโลยีการผลิตพื้นฐาน

ส่วนมากจะเป็นผู้ประกอบการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลการเกษตรและรับจ้างผลิตชิ้นส่วนต่างๆ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในเกษตร

เครื่องจักรกล

เครื่องจักรสำหรับงานก่อสร้างของคูโบต้าซึ่งประกอบด้วยรถขุดขนาดเล็กรถตักแบบล้อยาง และรถตักตีนตะขาบขนาดกะทัดรัด

 คุณลักษณะเด่น

ความทนทานสูง สมรรถนะที่เหนือกว่า ซ่อมบำรุงง่ายผลิตภัณฑ์

รถขุดเล็ก รถขุดขนาด 8 ตัน รถตักดินขนาดกะทัดรัด รถตักอเนกประสงค์ รถตักล้อยาง

ผลิตภัณฑ์ รถแทรกเตอร์แบบเต็มรูปแบบรถแทรกเตอร์อเนกประสงค์ขนาดกระทัดรัดสำหรับการใช้งานในครัวเรือนการเกษตรและอุตสาหกรรม

รุ่น KRT แบบนั่งขับ

รุ่น B  ทำงานคล่องตัวในร่องอ้อย

รุ่น L ทดแทนแรงงาน

รุ่น M เครื่องเต็มพลัง ตอบโจทย์งานหนัก สมบุกสมบันในไร่

ข้อมูลกลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตร

ชื่อเครื่องจักรกลเพื่อทำการบันทึกข้อมูล จะตองทำการเลือกเครื่องจักรกลการเกษตร

1.เครื่องจักรกลเคลื่อนที่/ ยานพาหนะได้แก่เครื่องจักรกลที่มีการเคลื่อนที่ในขณะทำงาน เช่น รถไถ รถแทรกเตอร์ รถขุด  รถตัดหญ้า

2.เครื่องมือ / เครื่องทุ่นแรง ได้แก่เครื่องจักรกลที่ทำงานอยู่กับที่หรือเครื่องจักรที่จะใช้แรงงานคนในการเคลื่อนที่ เช่นเครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย

 เครื่องยนต์เล็ก

รถไถเดินตาม ที่ใช้บ้านเราส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศไทยซึ่งส่วนมากแล้วจะมีโครงสร้างการทำแบบง่ายๆ

รถไถเดินตามทุกคันที่มีจำหน่ายจะเป็นรุ่นที่ทีระบบบีบเลี้ยวเกียร์เดินหน้า 6 เกียร์ชุดพรวนถอดใส่อุปกรณ์เสริมได้ เกียร์พรวน 4 ความเร็ว ข้อขยับเข้าออกปรับความกว้างแคบได้ มีล้อหลังปรับความลึกของการพรวน

ความแรงของรถไถเดินตาม 6 9 10 11 12 14

ประเภทของรถไถเดินตาม

1.รถไถเดินตามแบบใช้ลาก

2.รถไถเดินตามแบบจวบหมุน

3.รถไถเดินตามแบบผสม

การตรวจสอบก่อนนำไปใช้งาน

ตรวจดับน้ำมันโซล่า ถ้าต่ำก็ควรเติมให้ถึงระดับที่กำหนดตรวจลำดับน้ำมันเครื่องถ้าต่ำก็ควรเติมน้ำมันเครื่องที่ใช้กับเครื่องยนต์ตรวจล้างกรองน้ำมันโซล่าที่มีน้ำปะปนตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำรังผึ้ง

เครื่องยนต์

เมื่อซื้อรถไถเดินตามที่มีเครื่องยนต์ติดมาด้วยหรือไม่มีการจำเป็นต้องต้องซื้อเครื่องยนต์มาใส่และการบำรุงรักษาเครื่องนั้นมาให้ด้วยที่แนะนำไว้อย่างเคร่งครัดเครื่องยนต์จะทำงานได้อย่างดีเยี่ยม

ข้อดีของรถไถเดินตาม

1.สามารถไถนาเสร็จเร็วขึ้นกว่าใช้ควาย

2.ล้อรถอีแต๋นอาจไม่เล็กเท่าเท้าควาย

3.สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่าวัดน้ำปั่นไฟ

ข้อเสียของรถไถเดินตาม

1.เปลืองน้ำมัน

2.ยากต่อการบังคับ

3.เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

4.ในการไถนายากต่อเดินตามรถ

ชนิดของเครื่องยนต์เล็ก

เครื่องยนต์เล็กเป็นเครื่องยนต์ที่มีสูบเดียวขนาดไม่เกิน 10 แรงม้ามีชนิดแบบสูบตรงและชนิดแบบสูบเอียงเครื่องยนต์เล็กที่มีอยู่ตามท้องตลาดโดยทั่วไปจะใช้งานเกี่ยวกับด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ที่นำเข้ามาผลิตในประเทศไทย มีทั้งแบบใช้น้ำมันเบนซิน และแบบแก๊สโซฮอล์ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง

 ประเภทการขับเคลื่อนของแทรกเตอร์

1.แทรกเตอร์แบบใช้ล้อเป็นแทรกเตอร์ที่นิยมใช้ในงานทางด้านการเกษตรมากที่สุด ทั้งนี้แทรกเตอร์แบบใช้ล้อสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกน้ำหนักเบาการบังคับเป็นไปโดยง่ายแทรกเตอร์ที่ใช้กับการปลูกพืชแบบแนวรถแทรกเตอร์ประเภทนี้สามารถปรับขยายช่วงล้อเข้ากับร่องดินและแถวพืชได้โดยที่ล้อหน้าของแทรกเตอร์ชนิดนี้จะมีลักษณะการติดตั้งล้อหน้าแบบคู่และเดี่ยว

แทรกเตอร์แบบมาตรฐานถือว่าเป็นแทรกเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นแทรกเตอร์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังแทรกเตอร์ชนิดนี้จะมีระยะห่างของล้อคู่หน้าและระยะของคู่หลัง

แทรกเตอร์แบบเพลาสูง เป็นแทรกเตอร์อีกแบบหนึ่งที่ มี 4 ล้อ และขับเคลื่อนด้วยล้อหลังแทรกเตอร์แบบนี้สามารถปรับความกว้างของเพลาล้อหน้าได้ห้องรถจะอยู่สูงกว่าพื้นดินมากกว่าแทรกเตอร์แบบอื่นๆ เหมาะกับการปลูกพืชที่มีต้นสูงเช่ร อ้อย นอกจากนี้ยังเหมาะสมสำหรับการเข้าไปบำรุงรักษา

 ชนิดของแทรกเตอร์

แทรกเตอร์ในอดีตควรมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก เคลื่อนที่ได้ช้า ไม่มีความคล่องตัวในการทำงานดังนั้นงานส่วนมากจึงเป็นงานประเภทการไถเตรียมดินและใช้กับเครื่องนวดเมล็ดพืชหลังจากที่ได้พัฒนาปรับปรุงแทรกเตอร์ในปัจจุบันมีลักษณะและรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปมีกำลังต่อน้ำหนักมากขึ้นการบังคับเลี้ยวและการเคลื่อนที่มีความคล่องตัวมาก


 ระบบพ่วงอุปกรณ์

ระบบอุปกรณ์หรือเครื่องมือทุ่นแรงของแทรกเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบลากและแบบติดกับรถสาเหตุที่มีหลายแบบก็เพราะขนาดของอุปกรณ์ตลอดจนการใช้งานต่างกันจึงไม่สามารถทำให้ใช้ระบบพ่วงอุปกรณ์แบบเดียวกันได้ระบบพ่วงอุปกรณ์แบบลากมีส่วนประกอบที่สำคัญคานลากซึ่งติดอยู่ทางด้านหลังของรถแทรกเตอร์โดยแบ่งออกเป็นสองแบบคือ แบบติดแน่น และแบบแกร่งได้ สำหรับระบบพ่วงอุปกรณ์แบบติดกับรถนั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการติดอุปกรณ์คือ แบบติดด้านหน้า เช่น ใบมีดดันดินหน้า บุ้งกี๋ตักดิน แบบติดกลาง เช่น เครื่องพรวน เครื่องตัดหญ้า และแบบติดด้านหน้า เช่น จอบหมุนไถหัวหมู

อุปกรณ์ที่ใช้พ่วงติดกับรถแทรกเตอร์มีหลากหลายชนิดแต่ละชนิดจะมีขนาดกันออกไปและสภาพการใช้งานก็ไม่เหมือนกันทำให้สามารถเลือกใช้การพ่วงแบบเดียวกันได้ระบบพ่วงท้ายอุปกรณ์แทรกเตอร์แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

1.แบบลาก

2.แบบติดกับรถ

3.แบบกึ่งติดกับรถ

รถแทรกเตอร์ส่วนใหญ่จะมีระบบพ่วงอุปกรณ์ทั้ง 3 แบบนี้


ระบบถ่ายกำลัง

เครื่องยนต์ถ่ายกำลังไปยังล้อเพลาอำนวย ปั้มไฮดรอลิกและอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของระบบ คลัช คลัชในรถแทรกเตอร์ประกอบด้วยคลัชขับเคลื่อนและคลัตช์เพลาอำนวยกำลัง คลัชขับเคลื่อนซึ่งทำหน้าที่ตัดและต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปขับล้อให้รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ คลัชเพลาอำนวยกำลังทำหน้าที่ตัดและต่อการส่งกำลังเครื่องยนต์ไปหมุนเพลาอำนวยกำลังเพื่อส่งกำลัง

เกียร์ เกียร์คือส่วนที่ทำหน้าที่แข่งขั้นความเร็วและเพิ่มกำลังฉุดลากของล้อรถแทรกเตอร์โดยปกติถ้าใช้เฟืองเกียร์ที่มีอัตราการทดรอบต่ำหรือไม่มีการทดรอบเลยเครื่องยนต์หมุนได้ความเร็วเท่าไหร่ ล้อก็หมุนด้วยความเร็วเท่านั้นซึ่งในกรณีเช่นนี้ ในแทรกเตอร์ไม่มีความเร็วสูงถึงขั้นนี้อย่างไรก็ตามเมื่อล้อหมุนด้วยความเร็วสูงกำลังฉุดลากก็จะต่ำ

ระบบควบคุมตำแหน่ง

ระบบควบคุมตำแหน่ง ใช้กับอุปกรณ์ที่มีแรงต้านทานการฉุดลากน้อย เช่น เครื่องพรวนหรือกำจัดวัชพืชเครื่องหยอดมล็ดพืชและใช้ปุ๋ย เครื่องปลูกพืชนอกจากนั้นยังใช้กับรถไถหัวหมูขณะทำงานในดินอ่อนและพืชที่ราบเรียบคันควบคุมระโดยการยกหรือวางแขนยก ซึ่งทางแบบไฮดรอลิกและอุปกรณ์เคลื่อนที่กันไป

 ระบบควบคุมแรงลาก

ระบบควบคุมแรงลากเหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้ความต้านทานในการทำงานของอุปกรณ์คงที่ หรืออุปกรณ์ที่ใช้แรงลากสูง เช่นรถพ่วงการควบคุมแรงลากจะมีสปริงเป็นตัวรับสัญญาณ ที่จุดพ่วงของแขนลากซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมก้านต่อและวาล์วควบคุม แรงที่ถ่ายทอดให้กับตัวรับสัญญาณ ซึ่งเป็นสัดส่วนกับแรงต้านทานการขับเคลื่อนจะทำให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองในกลไกลวาล์วควบคุมผ่านทางก้านต่ออุปกรณ์จะถูกควบคุมในตำแหน่งคงที่เมื่อแรงต้านทานการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงหรือแรงต้านทานดินเปลี่ยนแปลงตัวรับสัญญาณก็จะส่ง

.เกียร์หรือเครื่องส่งกำลัง(GEAR  BOX) ทำหน้าที่ให้เครื่องยนต์สามารถใช้กำลังงานที่ผลิตงานออกมาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการใช้งานสามารถเลือกเปลี่ยนความเร็ว ของรถได้เหมาะสมกับความเร็วของเครื่องและทำให้รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ถอยหลังได้มี 2 แบบคือ

-แบบสไลดิ้งเกียร์มีเฟืองตรงติดตั้งในแต่ละเพลา เป็นลักษณะที่เฟืองเข้าขบหรือประสานกัน เพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนความเร็วหรือทำให้รถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ถอยหลังได้ ส่วนมากใช้กับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กหรือแทรกเตอร์ตีนตะขาบ

-แบบคอนสแตนต์เมช (CONSTANT MESH ) เป็นแบบเฟืองที่ขบประสานกันตลอดเวลานิยมใช้แบบเฟืองเฉียง นิยมใช้กับแทรกเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน

-คลัตช์ (Cluteh ) ทำหน้าที่ตัด+ ต่อการส่งกำลังไปยังเครื่องยนต์ไปเกียร์หรือเครื่องส่งกำลังโดยคลัตช์ที่ใช้ในรถแทรกเตอร์เป็นแบบคลัตช์แผ่นมี 2 แบบคือ

-คลัตช์แบบแห้ง แบบแผ่นเดียว นิยมใช้กับแทรกเตอร์ขนาดเล็กกับขนาดกลางและแบบหลายแผ่นนิยมใช้กับแทรกเตอร์ขนาดใหญ่

-คลัตช์แบบเปียก มีทั้งระบบแช่น้ำมันหรือแบบน้ำมันฉีดเข้านิยมใช้กับรถแทรกเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก

หลักการทำงานของคลัตช์-คือ เมื่อเหยียบแป้นคลัตช์แรงกดที่ได้รับจะถูกส่งผ่านไปยังสปริงกดคลัตช์ ทำให้สปริงหดตัว แผ่นคลัตช์จะถูกดึงแยกออกจากล้อช่วยแรงของเครื่องยนต์เป็นการตัดต่อกำลังที่ส่งไปยังเกียร์ และเมื่อปล่อยเท้าที่เหยียบแป้นคลัตช์จะดันแผ่นคลัตช์ให้ติดกับล้อช่วยแรงสามารถรับกำลังส่งไปยังเกียร์ได้

 อุปกรณ์ควบคุมเครื่องมือทุ่นแรง

ทำหน้าที่ควบคุมในการยก-วางเครื่องมือทุ่นแรงที่ติดอยู่ท้ายรถของแทรกเตอร์ประกอบด้วย (ก) คันควบคุมการทำงานของเพลายกทำหน้าที่ให้เพลายกแขนยกและแขนลากของที่ต่อพ่วงแบบ 3 จุดยกขึ้นลง เพื่อให้เครื่องทุ่นแรง ทำงานระดับความลึกที่ต้องการ การตั้งตำแหน่งสามารถทำได้โดยการเลื่อนคันควบคุมไปข้างหน้าหรือข้างหลังตามที่ต้องการ (ข) คันควบคุมความเร็วของเพลายกทำหน้าที่ควบคุมความเร็วในการยกขึ้นหรือลงของเครื่องทุ่นแรง (ค) คันควบคุมการลาก โดยทั่วไปมีตำแหน่งในการทำงาน 3 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งไม่อัตโนมัติโดยการควบคุมการทำงานของเครื่องทุ่นแรงจะขึ้นอยู่กับความแข็งของดินเป็นเกณฑ์และตำแหน่งกึ่งอัตโนมัติจะควบคุมความลึกการทำงานของเครื่องทุ่นแรงโดยจากตำแหน่งคันควบคุมเพลายกและความแข็งของดิน

.เพลาอำนวยกำลัง(Power take off ) ทำหน้าที่ส่งกำลังขับที่ได้รับจากเฟืองท้ายไปยังเครื่องมือทุ่นแรงต่างๆ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นยา  ปัจจุบันที่นิยมใช้มี 2 แบบ คือ แบบคลัตช์ร่วมส่วนมากใช้กับแทรกเตอร์แบบที่เป็นคลัตช์คู่ซึ่งประกอบด้วยคลัตช์ส่งกำลัง กับคลัตช์ของเพลาอำนวยกำลังอยู่ในชุดเดียวกันโดยเมื่อเหยียบในขั้นที่ 1 จะเป็นการปลดการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องยนต์กับเครื่องส่งกำลังและเพลาอำนวยกำลังจะถูกปลดออกทำให้แทรกเตอร์และเพลากำลังหยุดการเคลื่อนที่แบบอิสระจะประกอบด้วยคลัตช์ 2 ชุด คือคลัตช์ของเครื่องส่งกำลัง 1 ชุด และ คลัตช์ของเพลาอำนวยกำลัง 1 ชุด ทำให้สามารถแยกออกกันได้อย่างอิสระจึงปลอดหรือหยุด การทำงานของเพลาอำนวยกำลังได้ในแทรกเตอร์เคลื่อนที่

.แป้นอุปกรณ์ล็อกเฟืองท้าย

ปกติติดตั้งอยู่พื้นรถแทรกเตอร์ ทางด้านใดด้านหนึ่งบริเวณเข้าที่นั่ง พนักงานขับการทำงานเมื่อถูกเหยียบหรือยกคันบังคับไปอยู่ในตำแหน่งใช้งานกลไกทางด้านเมคแคนิคส่งกำลังไปล็อกเฟืองท้ายทั้งสองข้างของรถแทรกเตอร์ให้ติดกันของล้อหลังรถสามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กัน ทำให้มีกำลังในการฉุดลากในการหมุนฟรีในกรณีที่ล้อรถแทรกเตอร์ด้านใดด้านหนึ่งหมุนฟรี

แบตเตอรรี่ (Battery)

เป็นอุปกรณ์เคมีไฟฟ้า เก็บพลังงานในรูปของสารเคมี ซึ่งสามารถเปล่งพลังงานในรูปของกระแสไฟฟ้า ภายในหม้อแบตเตอรี่จะมีเซลล์ต่อกันเป็นห้องเพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นแบตเตอรี่จะถ้ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบใช้ไฟต่างๆ

ของแทรกเตอร์ เช่น ระบบสตาร์ ระบบแสงสว่าง  ระบบจุดระเบิด

 การล็อคเฟืองท้าย

ในบ้างครั้งการขับรถแทรกเตอร์วิ่งในทางตรงการทำงานของเฟืองท้ายอาจจะเป็นอุปสรรคโดยการถ่ายทอดกำลังให้กับล้อข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าเช่นกรณีที่ติดล้อข้างหนึ่งลื่นหรือหมุนฟรีปัญหานี้มักจะเกินขึ้นบ่อยๆ เมื่อแทรกเตอร์ทำงานในสภาพดินที่เลว ระบบล็อคเฟืองท้ายจะควบคุมเฟืองท้ายจะควบคุมเฟืองท้ายไม่ให้ล้อข้างหนึ่งหมุนฟรีโดยทำให้เพลาสองข้างหมุนเป็นเพลาเดียวกันการล็อคเฟืองท้ายทำได้โดยการเหยียบคันล็อคเฟืองท้ายข้อดีของการล็อคเฟืองท้ายคือ ทำให้รถแทรกเตอร์สามารถวิ่งได้ดีบนพื้นดินทรายดินอ่อน และดินลื่น วิ่งทางตรงและมีสมรรถนะในการขับเคลื่อนที่ดีเช่น การไถ ซึ่งจำเป็นให้ล้อทั้งสองล้อข้างหมุนด้วยความเร็วเท่ากันในขณะที่ล้อข้างหึ่งอยู่ในร่องไถเพื่อให้งานไถสม่ำเสมอ

การตรวจเช็คและบำรุงรักษารถแทรกเตอร์

1.ก่อนเริ่มใช้งานสำหรับการตรวจเช็คก่อนเริ่มใช้งานก็คือสภาพโดยทั่วไปของตัวเครื่องว่ามีอะไรผิดปกติดีหรือเปล่าปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงน้ำมันเครื่อง น้ำในหม้อน้ำแรงดันล้อยางล้อรถใช้เวลาไม่เกิน1ชั่วโมงก็สามารถตรวจเช็คตามรายการได้ครบถ้วนแล้วเสียเวลานิดเดียว

2.ในระหว่างใช้งานควรให้เครื่องยนต์ได้พักบ้างเพื่อตรวจสภาพเครื่องยนต์หรือประมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออาการผิดปกติของแทรกเตอร์จะได้แก้ไข้ซ่อมแซมได้ทันช่วงทีอย่าทิ้งให้ชิ้นส่วนต่างๆ นั้นเสีย หรือชำรุดขณะที่กำลังใช้งานอยู่ อาจจะทำให้เกิดอันตายได้

3.หลังจากเลิกใช้งาน ควรทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากรถแทรกเตอร์อาจจะแค่ล้างเศษดินโคลนที่ติดมากับชิ้นส่วนรถ เติมน้ำมันเชื้อเพลิงเติมน้ำในหม้อน้ำเช็คระดับน้ำมันเครื่องและตรวจว่ามีชิ้นส่วนของแทรกเตอร์ส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหาย หลุด คด งอ หรือไม่

การตรวจเช็คหรือเปลี่ยนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด

1.ทุก 2 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนน้ำเครื่องและกรองน้ำมันเครื่องใหม่

2.ทุกๆ เดือน ปรับตั้งระยะฟรีของแป้นเหยียบคลัตช์และเบรกตั้งความตึงของสายพาน

3.ทุกๆ เดือน ตรวจเช็คระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงไดสตาร์ท ไดชาร์ทและเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง

 เกียร์แบบเลื่อนขบ

เฟืองบนเพลาขับจะขบกันเฟืองบนเพลาตามโดยวิธีเลื่อนเฟืองไปมาตามส่วนของที่เป็นร่องฟันของเฟืองตามตำแหน่งของคันเกียร์ต่างๆ N หมายถึงตำแหน่งเกียร์ว่างซึ่งไม่มีการขบของเฟืองไปมาบนร่องฟันของเพลาเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งคันเกียร์ราวก้ามปูจะเลื่อนตามไปด้วยเฟืองจะขบกันเพียงคู่เดียว โดยมีอุปกรณ์ป้องกันเฟืองคู่อื่นขบกัน

เกียร์แบบขบอยู่กับที่

เฟืองบนเพลาตามและเฟืองบนเพลาขับจะขบกันอยู่ตลอดเวลาโดยตัวคลัตช์(1) และ (2) จะเลื่อนบนร่องฟันของเพลาขับเพื่อต่อเฟืองและเพลาขับให้หมุนเดียวกันตัวอย่างเกียร์แบบอยู่กับที่แสดงในรูปที่เมื่อตัวคลัตช์ (1) เลื่อนไปทางซ้ายเพื่อต่อกับเฟือง (2) เพลาประทานจะหมุนด้วยความเร็วเท่ากับเฟือง (2) ในทำนองเดียวกันถ้าตัวคลัตช์ที่อยู่คู่กัน (2) เลื่อนไปทางซ้ายมือเพื่อต่อเข้ากับเฟือง (3) ซึ่งเป็นเกียร์ถอยหลัง

เกียร์แบบซินโครเมช

เกียร์ชินโครเมชแบ่งออกได้ 2 แบบคือแบบแรงคงที่และแบบล็อกโดยอาศัยแรงเฉลี่ย

เกี่ยร์แบบเฟืองบริวาร (Planetary Gears )

ส่วนประกอบที่สำคัญของเกียร์แบบเฟืองบริวาร คือ เฟืองประธานซึ่งอยู่บนเพลาขับและมีเฟืองบริวารขบอยู่แผ่นยึดเฟืองบริวารจะติดอยู่กับเพลาตามด้านในของเฟืองวงแหวนจะขบกับเฟืองบริวารและมีเบรกสำหรับล็อคไม่ให้เฟืองวงแหวนหมุนในขณะที่เบรกล็อคเฟืองวงแหวนเพลาขับจะขับเฟืองประธานให้หมุนเฟืองบริวารจะหมุนรอบเฟืองประธานและหมุนรอบตัวเองไปพร้อมๆ กัน และแผ่นยึดก็จะหมุนตามไปในทิศทางเดียวกัน

เฟืองท้าย  (Differential Gears)

ในการเลี้ยวรถแทรกเตอร์ล้อที่เลี้ยวทั้งสองข้างควรจะทำมุมกันและในขณะเดียวกันจำนวนรอบการหมุนของล้อหลังด้านนอกจะต้องมากกว่าล้อหลังด้านในเฟืองท้ายจะทำให้รอบการหมุนของล้อข้างซ้ายและขวาแตกต่างกันเมื่อรถแทรกเตอร์วิ่งทางตรงแรงต้านทานดินที่กระทำต่อล้อทั้งสองข้างเกือบจะเท่ากันยกเว้นกรณีพิเศษเฟืองดอกจอกทั้งสองจะไม่หมุนรอบเพลาของเฟืองแต่จะเคลื่อนไปพร้อมข้างซึ่งขบกันอยู่ทำให้การขับล้อข้างซ้ายและข้างขวาหมุนด้วยความเร็วเทากัน

ระบบเบรก (Brake System)

เบรกทำหน้าที่หยุดรถและชะลอความเร็วของรถนอกจากนั้นยังทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รถลื่นไถลขณะจอด เบรกแบ่งออกเป็น2 แบบตามลักษณะการใช้งานคือ เบรกมือ (ใช้ขณะรถจอด) และเท้า (ใช้ขณะรถขับเคลื่อน) ชนิดของเบรก

เบรกแบ่งตามลักษณะการทำงานและอุปกรณ์และวิธีการใช้แรงเบรกได้ดังนี้

1.แบ่งตามลักษณะการทำงานและอุปกรณ์

-แบบขยายออก

-แบบรัดเข้า

-แบบแผ่น

2.แบ่งตามวิธีการใช้แรงเบรก โดยพิจารณาถึงการถ่ายทอดแรงเบรก

-แบบกลไก

-แบบไฮดรอลิก

เบรกแบบขยายออก

ลักษณะของเบรกแบบขยายออกแสดงในโดยมีส่วนประกอบสำคัญคือ จานเบรกผ้าเบรกสปริงตึงผ้าเบรก ลูกเลี้ยว และสกรูปรับจานเบรกโดยส่วนล่างของฝักเบรกจะยึดติดกัน และส่วนบนมีเพลาลูกเบี้ยวคั่นอยู่ สปริงจะตึงฝักเบรกทั้งสองข้างเข้าหากัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฝักเบรกและจานเบรกเมื่อกดคันเหยียบเบรก ก้านต่อจะหมุนลูกเบี้ยวทำให้ฝักเบรกทั้งสองข้างถ่างออก ผ้าเบรกจะกดลงตรงจานเบรกด้านในทำให้เพลาหยุดหมุน


ส่วนประกอบและการทำงานของแทรกเตอร์

1.เครื่องยนต์                                                                                                                                 26.ก้านวัดน้ำมันเครื่อง

2.คลัคช์                                                                                                                                        27.ก้านวัดน้ำมันเกียร์

3.เกียร์หรือเครื่องส่งกำลัง                                                                                                            28.ล้อหน้า

4.เฟืองท้าย                                                                                                                                  29.ล้อหลัง

5.ชดขับสดท้ายหรือเฟืองขับท้าย                                                                                               30.ที่นั่งคนขับ

6.ระบบไฅฮดรอลิก                                                                                                                      31.บังโคลน

7.พ่วงมาลัยและระบบบังคับเลี้ยว                                                                                               32.แขนกลาง

8.ระบบห้ามล้อหรือระบบเบรก                                                                                                    33.แขนลากซ้าย

9.คานลาก                                                                                                                                    34.แขนลากขวา

10.ยาง                                                                                                                                          35.ที่ปรับระดับแขนขวา

11.น้ำหนักถ่วง                                                                                                                               36.โซ่ข้าง

12.แบตเตอรี่                                                                                                                                  37.คันส่ง

13.แป้นเหยียบอุปกรณ์ล็อกเฟืองท้าย                                                                                          38.คันชัก

14.อุปกรณ์ควบคุมเครื่องมือทุ่นแรง                                                                                              39.น็อตถ่ายน้ำมันเครื่อง

15.ปุ่มดับเครื่อง                                                                                                                             40.น็อตถ่ายน้ำมันเกียร์

16.แป้นเหยียบคลัตช์                                                                                                                    41.หม้อกรองน้ำมันเครื่อง

17.แป้นเหยียบเบรก                                                                                                                       42.ปั้มแรงดันสูง (ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิง)

18.คันเร่งมือ                                                                                                                                   43.กรองน้ำมันไฮดรอลิก

19.คันเร่งเท้า                                                                                                                                 44.ถังน้ำมันเชื้อเพลิง

22.เพลาอำนวยกำลัง                                                                                                                    45.กรองดักฝุ่น

23.หม้อน้ำ                                                                                                                                     46.กรองอากาศแบบแห้งและแบบเปียก

24.พัดลมหม้อน้ำ                                                                                                                         47.เบรกมือ

25.ท่อไอเสีย                                                                                                                                48.มาตรวัด

การเลือกซื้อรถแทรกเตอร์มือสอง

. อะไหล่หาง่าย

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยสำหรับคนที่เลือกซื้อรถมือสอง ต้องหาอะไหล่ได้ง่ายสามารถหาในจังหวัดหรือไม่ต้องสั่งอะไหล่จากต่างประเทศหากเกิดแทรกเตอร์มือสองของคุณเสียที่แนะนำก็ให้เลือกรุ่นหรือยี่ห้อยอดนิยมจะดีกว่าเพราะสามารถหาซื้ออะไหล่ได้ง่ายและหาร้านที่ซ่อมง่ายอีกด้วย

ลองขับ

ได้ได้รถดีก็ต้องลองขับเจ้าของขายคงจะอนุญาตอยู่แล้วเป็นไปได้นอกจะลองขับแล้วก็ต้องดูสภาพด้านนอกและด้านในด้วยว่ามันดีไหมน่าจะได้เปลี่ยนเยอะไหมที่สำคัญด้านนอกอาจจะไม่แต่ด้านในอาจไม่ไหมก็ได้เราควรดูให้ดีๆ ลองฟังเสียงดูและที่สำคัญถ้าลองขับได้ยิ่งจะดีเราจะได้รู้ว่าเราชอบตรงไหนบ้างและก็ควรอย่าลืมเรื่องซ่อมบำรุงที่คุณจะต้องสำรองหรือเตรียมเอาไว้ให้พอ เพราะยังไงๆ รถแทรกเตอร์มือสองก็ผ่านการใช้งานมาอย่างหนักก่อนที่จะถูกขายต่ออยู่แล้วดังนั้นเครื่องยนต์หรือชิ้นส่วนต่างๆ ย่อมผุพันตามการเวลาการที่ต้องซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่นั้นจำต้องทำ ไม่งั้นรถแทรกเตอร์ของคูณไม่สามารถใช้งานได้คุ้มกับเงินที่คุณเสียไป ดังนั้นควรไตรตรองให้นานพอสมควร ให้ดีก่อนจ่ายเงิน

                  

.   >